mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ทำความเข้าใจ และรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ทำความเข้าใจ และรับมือกับ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ทำความเข้าใจ และรับมือกับ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ในช่วงเวลาหลังคลอด จะเป็นช่วงเวลาแห่งความภูมิใจของคุณแม่ ความตื่นเต้น และน่ายินดี แต่กลับไม่น่าเชื่อว่าคุณแม่หลังคลอดจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งทางอารมณ์และทางกายภาพ ซึ่งอาการซึมเศร้าหลังคลอดจะเป็นอยู่ประมาณ 7-10 วัน ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ถือเป็นเรื่องปกติที่พบว่าคุณแม่จะมีอารมณ์เศร้าหลังคลอดใหม่ๆ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum blue หรือ baby blue) เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า เสียใจ หดหู่โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่ง 1 ใน 5 ของคุณแม่หลังคลอด ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า

อาการของคุณแม่ที่เสี่ยงมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  1. กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองและลูกได้
  2. ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
  3. ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก
  4. รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก
  5. อารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง
  6. มีความรู้สึกเบื่อหน่าย หมดความสนใจในงานหรือกิจกรรมที่ทำ
  7. อาการร่วมอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไม่ได้
  8. ภาวะนี้เกิดขึ้นเกือบทั้งวัน หรือติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

วิธีการรักษา

  1. การใช้จิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย ซึ่งในบางกรณีแพทย์อาจให้คนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมานั่งพูดคุยไปพร้อมกันด้วย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีหรือสบายใจขึ้
  2. การใช้ยาต้านเศร้า เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า มักใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วไป ทว่าในบางกรณีแพทย์อาจให้คุณแม่ใช้ยานี้ในการรักษาด้วย โดยยาอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ก็มียาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงกับทารกได้น้อย

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  1. รับประทานอาหารที่มีประโชยน์
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. หาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน
  4. ให้คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก
  5. ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง
  6. มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง
  7. ลดการรับข่าวสาร
  8. ปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและสอบถามการอาการเพื่อให้แนวทางในการรักษา โดยวิธีที่แพทย์ใช้บ่อยได้แก่ การรับประทานยาต้านอาการเศร้า หรือ การพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อบำบัดทางจิตอีกครั้ง

คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรดูแลสุขภาพกายใจให้ดีอยู่เสมอ เพื่อช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความเครียดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากคลอดลูกได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เศร้า…..หลังคลอด???
เศร้า…..หลังคลอด???
01 กุมภาพันธ์ 2023 03:25
รู้สึกเศร้า หดหู่ น้อยใจ ทุกข์ใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
รับขวัญ: กำลังเลือกของอยู่หรือเปล่า?
รับขวัญ: กำลังเลือกของอยู่หรือเปล่า?
26 กรกฎาคม 2022 04:36
การให้ “ของขวัญ” หรือ ของฝาก ถือเป็นการแสดงความยินดีอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะตอนที่มีเรื่องน่ายินดีเมื่อญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนรักคลอดลูก ซึ่งเป็นโมเม้น
กฎหมายคาร์ซีท: สำคัญกับพ่อแม่อย่างไร?
กฎหมายคาร์ซีท: สำคัญกับพ่อแม่อย่างไร?
25 กรกฎาคม 2022 03:26
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ว่าด้วยการบังคับใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กที่อายุน
คนท้อง: พ่อควรรับมืออย่างใจเย็น
คนท้อง: พ่อควรรับมืออย่างใจเย็น
22 กรกฎาคม 2022 04:23
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมตัวเป็น คุณแม่มือใหม่ นั้น ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและสภาวะอารมณ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปเพ