Dr.Sura
Dr.Sura
@kengsura Doctor

Achievements

Expert
Description
สวัสดีครับผมทำงานเป็นสูตินรีแพทย์ ทำงานมานานกว่าสิบปี ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวหญิงตั้งครรภ์ และโรคทางสูตินรีเวชนะครับผม

My Services

My Shop
ให้คำปรึกษาเรื่องสูตินารีเวช
Reserve
TimelineInteractions

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันภาวะดาวน์ซินโดรม
การเจาะน้ำคร่ำเป็นการตรวจแบบตรงๆ คือการเอาน้ำคร่ำในท้องคุณแม่ไปสังเคราะห์ดูโครโมโซม ซึ่งเปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ 100 % ทำได้ตอนอายุครรภ์ประมาณ 18 สัปดาห์

ในกรณีที่ตรวจพบว่าเด็กในครรภ์มีภาวะดาวน์ซินโดรมจริงๆ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องทำก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์
0

ภาวะดาวน์ซินโดรม
เช่น คุณแม่ที่อายุเกิน 35 ปี ก็จะมีความเสี่ยงที่สำคัญคือ ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความเสี่ยงเรื่องเบาหวานตอนตั้งครรภ์

ซึ่งภาวะดาวน์ซินโดรมจะเกิดขึ้นตามสถิติ จะเกิดมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุมาก คือมันสามารถเกิดได้กับคุณแม่อายุน้อย แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แทบจะเป็น 1 ในล้านได้เลย แต่ถ้าเป็นคุณแม่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเป็น 1 ใน 100 หรือใน 200 ซึ่งทางสถิติถือว่ามีนัยยะสําคัญทางสถิติ เพราะฉะนั้นคนไข้ที่มีอายุมากและตั้งครรภ์
เราแนะนําให้ตรวจหาดาวน์ซินโดรม

สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก ยกตัวอย่างเช่นการตรวจภาวะดาวน์ซินโดรม ในช่วงไตรมาสแรกก็มีวิธีตรวจ คืออัลตราซาวด์ดูหลังคอเด็ก การตรวจผลเลือดดูสารเคมีในเลือดของคุณแม่ แต่เปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80%

ในปัจจุบันมีพัฒนาการมากขึ้น เชื่อว่ามีเลือดของเด็กลอยปนอยู่ในเลือดของคุณแม่ด้วย เลยมีการนำเลือดของคุณแม่ไปวิเคราะห์หาเลือดลูก แล้วดูโครโมโซม ซึ่งทําได้ตั้งแต่สิบสัปดาห์เป็นต้นไป แต่เปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 99% ถ้าตรวจแล้วผลมีความเสี่ยงเป็นภาวะดาวน์ซินโดรม ก็จะเข้ากระบวนการตรวจสอบยืนยัน คือการเจาะน้ําคร่ำ
0

รกเกาะต่ำ
มีความหมายว่า รกมีตำแหน่งในการเกาะที่โพรงมดลูก ที่อยู่ต่ำกว่าตัวเด็ก จะมีผลทำให้เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องคลอด ตัวเด็กก็จะเคลื่อนที่ลงมาที่ช่องคลอดไม่ได้ เพราะมีรกเกาะขวางทางอยู่ ซึ่งทำให้จำเป็นต้องผ่าคลอด

ความสำคัญอีกอย่างของรกเกาะต่ำ คือ ถ้าเด็กเคลื่อนตัวลงมาชนตำแหน่งที่รกเกาะอยู่ บางครั้งก็จะเกิดรกลอกตัวหรือเกิดแผลฉีกขาดที่บริเวณรก ทำให้เลือดออกในมดลูก หรือออกมาทางช่องคลอดได้ ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และตัวเด็ก เพราะฉะนั้น คุณแม่คนไหนที่มีภาวะรกเกาะต่ำ ก็จะต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีเลือดออกช่องคลอดหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ คือ คุณแม่ที่เคยมีประวัติแท้ง เคยขูดมดลูก
ภาวะรกเกาะต่ำ มีอันตรายอีกอย่างคือตอนที่ทำการผ่าคลอด อาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากกว่าการผ่าคลอดปกติ เพราะตอนที่คุณหมอเอาเด็กออกแล้ว และต้องดึงรกออกมาด้วย ตำแหน่งที่รกเกาะจะทำให้เกิดรอยแผลขนาดใหญ่บริเวณที่รกเกาะ เพราะฉะนั้น บางคนอาจจะเสียเลือดมากระหว่างผ่าคลอด ทำให้ต้องตัดมดลูกเพื่อห้ามเลือด เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างของคนที่มีภาวะรกเกาะต่ำ
0

ระยะหลังคลอด เมื่อคุณแม่คลอดแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติ หรือ การผ่าคลอด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อกลับคืนสู่ภาวะปกติมดลูกที่ขยายตัวอยู่จะพยายามหดตัว เพื่อจะเข้าสู่กระบวนการปกติ เรียกอีกอย่างแบบภาษาทั่วไปว่า มดลูกเข้าอู่ ซึ่งส่วนใหญ่มดลูกจะเข้าอู่ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดจะมีอาการ
1. ตึงท้องเหมือนปวดท้องประจำเดือน มดลูกพยายามจะบีบตัว ก็จะมีการแข็งตัวเป็นพักๆ

2. หลังคลอดจะมีเลือดหรือน้ำคาวปลาออกมาจากมดลูก ซึ่งน้ำคาวปลาหรือเลือด จะออกมาได้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ มากน้อยแล้วแต่คน ในสมัยก่อนชาวบ้านมักนิยมทานยาเพื่อขับน้ำคาวปลา แต่ในทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้ทาน เพราะ ไม่ทราบว่ายาขับน้ำคาวปลามีส่วนผสมอะไรบ้าง บางคนทานก็มีภาวะตกเลือด หลังคลอด หรือบางคนก็ไม่มี เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณแม่ทานยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

ปกติแล้วคุณหมอที่ทำคลอด จะทำการนัดคุณแม่เพื่อมาตรวจหลังคลอด 2 ระยะ
・ระยะที่ 1. ประมาณ 7 วันหลังคลอด เพื่อดูแผล ไม่ว่าจะเป็นผ่าคลอดที่หน้าท้อง หรือเป็นแผลที่ฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติ

・ระยะที่ 2. หลังคลอดประมาณ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง จะมีการนัดมาตรวจภายใน เป็นการตรวจเพื่อประเมินเรื่องมดลูกรัดตัว เข้าอู่ดีหรือยัง อาการต่างๆ ปกติหรือยัง และจะมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกหลังคลอด

คุณแม่ที่ผ่านระยะการคลอด และพ้นระยะ 1 เดือนขึ้นไป จะเริ่มสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เพราะฉะนั้น คุณแม่ที่คลอดไปถึงระยะนี้แล้ว ก็ควรเริ่มกระบวนการคุมกำเนิด ถ้าไม่คุมกำเนิดก็อาจจะมีการท้องเกิดขึ้นอีก

เรื่องการส่งเสริมการให้นมลูก คือพยายามจะให้ดื่มนมจากแม่เพียงอย่างเดียว ไม่พยายามจะให้ดื่มนมผสม น้ำเปล่าก็ไม่ให้ดื่ม ซึ่งคุณแม่หลายคนสามารถทำได้ แต่ว่าในปัจจุบัน คุณแม่หลายท่านที่เป็นวัยทำงาน ก็ไม่สามารถทำได้ บางรายใช้วิธีปั๊มนมใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ หรือบางครั้งก็ต้องอาศัยนมผสมเป็นตัวช่วย สามารถทำได้เหมือนกัน ส่วนเด็กที่คลอดแล้ว ทางกุมารแพทย์หรือหมอเด็ก จะมีการนัดเพื่อฉีดวัคซีนตามเวลา ไม่ว่าจะเป็น 7 วัน 15 วัน 1 เดือน 3 เดือนหรือ 6 เดือน จะมีตารางการนัดต่างหาก

กรณีคุณแม่ที่ผ่าคลอดอยากมีลูกเพิ่ม ทางการแพทย์แนะนำให้คุณแม่หายดีก่อน อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
0

ภาวะท้องแข็ง
ในความหมายของแพทย์ หมายถึง มดลูกแข็งตัว มดลูกแข็งตัวจะสามารถรู้สึกได้ที่บริเวณหน้าท้อง โดยจะรู้สึกตึงที่ท้องบริเวณมดลูก การบีบตัวของมดลูกไม่ควรเกิดขึ้นตอนที่อายุครรภ์ยังไ่ม่ครบกำหนด ถ้าเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด จะเรียกว่า การเจ็บท้องก่อนกำหนด แต่ถ้าแข็งแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ทั้งมดลูกนั่นคือ เด็กในครรภ์แค่มีการดันตัวไม่ใช่การเจ็บครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะมดลูกบีบตัวก่อนครบกำหนด หรือก่อน 37 สัปดาห์ อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 20-36 สัปดาห์ ก็จะถือเป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าเกิดขึ้นแล้ว กรณีที่ไม่สามารถยั้บยั้งได้ ก็จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด จะมีปัญหาในเรื่องของน้ำหนักตัวน้อย ความพร้อมในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ก็จะทำงานได้ไม่ดี จะมีปัญหาตามมาในการเจริญเติบโตในอนาคต หรือยิ่งอายุครรภ์น้อยแล้วคลอด ก็จะมีปัญหามากขึ้นไปเรื่อยๆ

การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด โดยส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก 2 อย่าง
1. เกิดจากการสะเทือน เช่น อาจจะนั่งรถบ่อย เดิน ออกกำลังกายมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุ รถชนหรือว่าตกบันได พอเกิดการสะเทือนขึ้นมา มดลูกจะถูกกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวขึ้น

2. เกิดจากการไม่สบาย ติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นไข้สูง ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์มากขึ้น อยู่ๆ มีอาการท้องแข็งบ่อย

สิ่งที่ควรทำ…หากเกิดอาการเหล่านี้
1. ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริง คุณหมอจะให้ยาเพื่อยับยั้งการที่มดลูกหดรัดตัว พยายามไม่ให้บีบตัว

2. แนะนำให้คุณแม่ ไม่เคลื่อนที่มาก ลดการสั่นสะเทือน เพื่อลดปัจจัยการสะเทือนลง อาจจะให้พักผ่อนอยู่บ้าน ลางาน และพยายามรักษาอายุครรภ์ให้มากที่สุด

3. ในบางรายที่มีการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่รุนแรง ก็อาจจะต้อง admit ที่โรงพยาบาลเพื่อให้ยาห้ามมดลูกหดรัดตัวทางน้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อ รวมถึงอาจจะต้องให้ยากระตุ้นปอดเด็กในครรภ์ เพราะว่า ถ้าเผอิญห้ามไม่ได้ แล้วเด็กจำเป็นต้องคลอด เด็กจะมีปัญหาเรื่องปอด เพราะฉะนั้นทางการแพทย์ จะมียาฉีด เพื่อกระตุ้น ให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น

กรณีที่คุณแม่เคยมีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในท้องครั้งก่อน ท้องต่อไปก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คนที่เคยมีประวัติเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด พอตั้งครรภ์ใหม่ ควรจะแจ้งให้หมอทราบ เพื่อให้คุณหมอได้วางแผนร่วมกับคุณแม่ เฝ้าระวังตัวเองมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
0

การผ่าคลอด
ช่วงที่ปากมดลูกเปิดต้องใช้เวลาในการเปิด 1 ชั่วโมง 1 เซนติเมตร จนกว่าจะเปิดถึง 10 เซนติเมตร บางทีเด็กในท้องตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเชิงกรานของคุณแม่ ทำให้เด็กเคลื่อนตัวลงมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นกรณีแบบนี้ปากมดลูกจะเปิดเท่าเดิมหรือใน 1-2 ชั่วโมงไม่เปิดเพิ่มอีก ทางการแพทย์จะถือว่าคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอด

อีกกรณีหนึ่งคือ ระหว่างที่รอปากมดลูกเปิดอยู่ อาจเกิดเหตุการณ์ตัวเด็กกดทับไปที่สายสะดือ หรือสายสะดือพันคอเด็ก ทำให้หัวใจเด็กเต้นผิดปกติ ซึ่งถ้าเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อออกซิเจนในตัวเด็ก และสุขภาพของเด็ก กรณีแบบนี้ทางการแพทย์ก็จะถือว่าให้ทำการผ่าคลอด

หรืออีกกรณีหนึ่งที่เจอบ่อยๆ คือคุณแม่ไม่สามารถทนความเจ็บปวดในระหว่างรอคลอด

ข้อบ่งชี้ที่จะต้องผ่าคลอด คือ

1. ท้องแรกหรือท้องล่าสุดเคยผ่าคลอด ท้องต่อมาก็จำเป็นตองผ่าคลอด เหตุผลเพราะว่าคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาก่อนจะมีแผลเป็นอยู่ที่ข้างในมดลูก ที่เนื้อมดลูก เพราะฉะนั้นถ้าคลอดเอง แผลที่มดลูกอาจจะเกิดการแตกได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

2. เด็กไม่อยู่ในท่าที่ปกติ เช่น เอาก้นลง เอาขาลง เอาเท้าลงหรือนอนขวาง ก็ต้องทำการผ่าคลอด

3. ขนาดเด็กตัวใหญ่กว่าเชิงกรานของคุณแม่

4. กรณีที่มีภาวะรกเกาะต่ำ รกเกาะต่ำหมายถึง รกอยู่ต่ำกว่าตัวเด็ก ปิดทางเข้าออกของเด็ก

5. ระหว่างรอคลอดเกิดภาวะเด็กหายใจผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น ซึ่งกรณีนี้ค่อนข้างอันตราย ต้องรีบผ่าคลอดเร่งด่วน

6. ครรภ์แฝด

7. มีฤกษ์ในการคลอด ต้องผ่าคลอด ไม่สามารถจะคลอดเองได้
0
Street
Articles
Club
Noti
Me