Rat 2020
Topic วันนี้!
ทำไมลูกถึงไม่ยอมทานข้าวล่ะ? 🥗

ในวัยนี้เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิเสธหรือคายอาหาร เนื่องจากมีการพัฒนาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งในวัยนี้สามารถหาและหยิบอาหารมากินเองได้

การที่ลูกปฏิเสธหรือคายอาหารจัดเป็นสัญชาตญาณที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองทานอาหารที่มีสารพิษเข้าไป และโดยส่วนใหญ่พฤติกรรมของลูกที่ไม่ทานข้าวจะไม่เกิดขึ้นนาน และหายไปเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ค่ะ แต่ในเด็กเล็กอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและหาวิธีรับมือกับลูกน้อยเอาไว้นะคะ

ปัญหาลูกไม่ยอมทานข้าวเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ได้แก่

1. การเลือกทาน เนื่องจากไม่ชอบเนื้อสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่นของอาหารนั้นๆ

2. เลี่ยงของทานแปลกใหม่ ลูกน้อยมักเลี่ยงการทานกินอาหารใหม่ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้ลองรับประทานอาหารใหม่ๆ โดยให้อาหารที่มีรสชาติคล้ายกับอาหารที่ลูกคุ้นเคย

3. อาการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ มักแพ้นม ถั่วเหลือง ไข่ ข้าวสาลี ถั่วต่างๆ และอาหารทะเล โดยจะเกิดอาการท้องร่วง อาเจียน มีผื่นขึ้น หรือปวดท้อง

4. โรคกลัวอาหาร โรคกลัวอาหารมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกลัวว่าทานอาหารแล้วจะทำให้ป่วย อาหารเป็นอันตรายหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเอง หรือกลัวว่าอาหารจะทำให้สำลักและติดคอ

5. ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการทาน ปัญหาสุขภาพอาจส่งผลให้เด็กทานอาหารลำบาก โดยอาจดูด เคี้ยว หรือกัดอาหารไม่ถนัด สำลักหรือรู้สึกพะอืดพะอมเมื่อทานอาหาร รวมทั้งรู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดอาการท้องผูก

6. สาเหตุอื่นๆ เช่น ไม่ชอบสัมผัสของช้อนหรือส้อมเมื่อนำเข้าปากและแตะลิ้น ไม่ชอบอาหารที่บดจนละเอียด รู้สึกพะอืดพะอมเมื่อเห็นอาหารปริมาณมาก สิ่งเร้ารอบข้างดึงความสนใจการรับประทานอาหารของเด็ก และไม่ชอบกลิ่นบางอย่างของอาหารบางชนิด

แล้วจะแก้ปัญหาลูกไม่ยอมทานข้าวได้อย่างไร?

1. ต้องเริ่มจากการกระตุ้นลูกน้อยกันก่อน
2. ให้ทานข้าวเอง
3. สังเกตอาการลูก
4. กระตุ้นให้ลูกทานอาหารจากจานของคุณพ่อคุณแม่
5. ชมเมื่อลูกทานอาหารได้
6. ไม่บังคับให้กิน
7. สร้างสุขลักษณะการกิน
8. จัดอาหารให้ดึงดูด
9. ทานอาหารตรงเวลา
10. สร้างสีสันในการทานอาหารร่วมกัน
11. ให้ทานข้าวกับเพื่อน
12. ไม่รีบทานอาหาร
13. ให้ลูกมีส่วนร่วมกับการเตรียมอาหาร
14. ให้ลูกทานอาหารในปริมาณน้อย หรือพอควร
15. ไม่ควรให้เด็กทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
16. ควรจำกัดขนมและของว่างระหว่างวัน
0


Please Login to CommentLog In