manassawee.sri
manassawee.sri
@manassawee Expert

Achievements

Expert
TimelineInteractions
Topic to follow
See more
SnipTopics.ROUTINESSnipTopics.SOCIAL_AND_EMOITIONAL_DEVELOPMENTSnipTopics.HEALTHSnipTopics.PHYSICAL_HEALTHSnipTopics.POST_PARTUMSnipTopics.PREGNANCY

“ คำถามจากคุณแม่ ” ท้องจะเข้าเดือนที่ 6 มีใครที่ชอบนอนหงายบ้างไหมคะ? แล้วจะมีผลอะไรกับลูกหรือเปล่า?(ชอบนอนหงายมากเลยค่ะเป็นท่าที่นอนแล้วรู้สึกสบายไม่ปวดหลัง)
คุณหมอแอม : เห็นว่าบางคนเขาบอกว่านอนหงายแล้วปวดหลังหรือเปล่าค่ะ บางคนนอนหงายแล้วอึดอัดเลยค่ะ ให้นอนตะแคงซ้าย แต่คนนี้บอกว่านอนหงายแล้วสบาย อย่างเงี้ยจะมีผลอะไรไหมค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : คุณแม่อายุครรภ์ 6เดือนประมาณสัก 24 สัปดาห์ ตอนเนี้ยมดลูกยังไม่ได้ใหญ่มากนะคะ ก็ยังนอนหงายได้ แต่พอเริ่มแบบอายุครรภ์ที่มากขึ้น มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นปุ๊บ คุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงการนอนหงาย เพราะคุณแม่จะเริ่มอึดอัดมากขึ้น

คุณหมอแอม : ขยายขึ้นคือกี่สัปดาห์คะอาจารย์

อาจารย์ฟิล์ม : สัก 28 สัปดาห์ ขึ้นไปค่ะ คือไตรมาสที่ 3 ค่ะ มดลูกก็จะเริ่มแบบใหญ่ขึ้นเริ่มกดเบียด การหายใจอะไรต่างๆและ จะแนะนําให้คุณแม่นอน ลองนอนตะแคงดูนะคะในช่วงนั้น

คุณหมอแอม : ถ้าสมมุติว่านอนหงายแล้วสบาย ก็นอนได้

อาจารย์ฟิล์ม : ก็นอนได้

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ ตอนนี้ก็ยังนอนได้ แต่ถ้าเกิดตอนนั้นเนี้ย ก็พยายามลองเปลี่ยนท่าเรื่อยเรื่อย เพราะถ้านอนหงายนานๆก็จะมีการที่มดลูกไปกดเบียดเหมือนกัน ทําให้หายใจไม่สะดวก นอนแล้วอาจจะคุณแม่อาจจะเกิดภาวะหน้ามืดได้ค่ะ

คุณหมอแอม : มีไหมคะที่ว่านอนหงาย แล้วฉันไม่ได้อึดอัดอะไร จนถึงไตรมาสสุดท้าย นอนหงายและฉันไม่ได้ติดอะไร แต่ลุกมาแล้วหน้ามืดเลย

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : ไม่ใช่ว่านอนหงายแล้วสบาย จะไม่ได้มีผลอะไรกับคุณแม่ แต่28 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วก็ตาม ถึงจะสบายก็ต้องตะแคงบ้างคะเพราะเลือดลมจะได้ไหลเวียน

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

#mombieclub #มัมบี้ #NS_mentalwellness #นอนหลับดี #สุขภาพดี #พักผ่อน #ท่านอน #คุณแม่ท้อง
https://youtu.be/RPkZUcN-pxs
0

“ คำถามจากคุณแม่ ”
รับมือกับกรดไหลย้อนกันยังไงค่ะ บ้านนี้เป็นบ่อย + นอนไม่สบายเลยค่ะ แถมแม่เป็นคนเหงื่ออกมากตอนกลางคืนเยอะมากค่ะ ถึงจะเปิดแอรืแล้ว ทำให้ตื่นบ่อยอีกด้วยค่ะ

คุณหมอแอม : อยากรู้ว่ามีทริคในการรับมือเรื่องของกรดไหลย้อนยังไงคะ? จริงๆแล้วเป็นกันเยอะนะคะ ไตรมาสแรกเป็นได้ไหมคะ?

อาจารย์ฟิล์ม : ไตรมาสแรกเป็นได้มั้ย? เป็นได้ค่ะ เพราะว่าอย่างที่บอกว่าฮอร์โมนที่ทําให้กล้ามเนื้อมันหย่อนตัว ตรงหูรูดของกระเพาะอาหารของเราก็หย่อนตัวคลายตัวไปได้เหมือนกัน คุณแม่อาจจะเกิดรู้สึกว่ามีแสบร้อนในช่วง หน้าอกนิดหนึ่งได้ค่ะ อาจจะเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่เป็นมื้อเล็กๆแล้วก็ทานบ่อยขึ้น ดีกว่าการที่ทานมื้อละใหญ่ๆค่ะ

คุณหมอแอม : ให้กินเหมือน อั้ม พัชราภา จะกินวันละห้ามื้อ แต่ว่าเขาจะไม่ได้กินบุฟเฟต์ กินแบบนี้ย่อยๆห้ามื้อ เป็นการช่วยให้กระเพาะมันย่อยง่ายขึ้นได้ด้วยใช่ไหมคะ

อาจารย์ฟิล์ม : มันก็จะช่วยได้ค่ะ

คุณหมอแอม : แล้วถ้าไตรมาสหลังแล้วล่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : ไตรมาสหลังๆก็เหมือนเดิมเลยค่ะ รับประทานอาหารที่แบบง่ายๆก็จะช่วยได้ แล้วก็พวกอาหารที่เป็นไขมันอะไรอย่างค่ะ ให้ลดลงหน่อย

คุณหมอแอม : ชานมนี่ของโปรดเลยค่ะ หวาน ๆ มัน ๆ อะไรอย่างนี้ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : ของหวานของมันต่างๆก็ต้องลดลงด้วยนะคะ เพราะว่ามันย่อยยาก อาหารอื่นๆ ข้าวต้มโจ๊กอะไร ชั่วโมงสองชั่วโมงเวลาเราสะอึกออกมามันไม่มีกลิ่นหมู ไม่มีกลิ่นโจ๊กแล้วค่ะ แต่พอกินมันปูกินแบบปลาหมึกย่างกินอะไรพวกนี้น่ะ หกชั่วโมงผ่านไป ขึ้นมายังแบบโอ้โหกลิ่นมันขึ้นตาเลย ย่อยยากนี่คอนเฟิร์มนะ เพราะฉะนั้นก็ถ้าใครที่ กําลังแบบอุ้ยทําอยู่เป็นอยู่นะคะ ก็แนะนําว่าให้ปรับเรื่องของอาหารก่อนใช่มั้ยคะอาจารย์ ถ้าเกิดว่าเราปรับเรื่องอาหารแล้วแบ่งเป็นห้ามื้อย่อยๆ ก็แล้ว กินของย่อยๆ ก็แล้ว
ของมันของอะไรเลยค่ะอาจารย์ขา แต่ยังเป็นอาจารย์มีทริกมั้ยคะ เช่นท่าทาง ปรับท่านอนหรือว่าต้องกินยาอะไรเมื่อไหร่คะ

อาจารย์ฟิล์ม : สําหรับการปรับท่านอนในคุณแม่ที่มีภาวะแบบกรดไหลย้อนนะคะ จริงๆ ถ้านอนที่เหมาะสมเนี่ยเราจะแนะนําให้คุณแม่นอนศีรษะสูงสักประมาณสามสิบองศา ก็คือไม่ให้แบบนอนราบไปเลย แล้วก็คอหักค่ะ

คุณหมอแอม : ใช่ไหมคะ? อันนี้คอหัก

อาจารย์ฟิล์ม : ก็ไม่ได้นะ เดี๋ยวเขาจะเห็นเหนียงเรา

คุณหมอแอม : ไม่ใช่ ใครเห็นคะ? สามี

อาจารย์ฟิล์ม : เดี๋ยวทางเดินหายใจเรา จะเปิดได้ไม่ดี เมื่อคือว่าถ้าสามสิบองศาจะเป็น ไม่ใช่เฉพาะแค่คอนะคะ ก็คือต้องเอนหลังให้แบบหนุนตรงบริเวณไหล่ช่วงไหล่ตรงนี้ด้วยทําให้สูงขึ้นมาหน่อยที่เป็นไป ถ้าเป็นไปได้ก็คือ ไม่แนะนําให้นอนหลังจากรับประทานอาหารทันที ควรจะมี activity สักหน่อยนะคะ

คุณหมอแอม : กลับเข้าสู่สาระค่ะ ให้นอนตอนกี่ชั่วโมงหลังกินข้าวค่ะ?

อาจารย์ฟิล์ม : อย่างน้อย30นาทีถึง1ชั่วโมงค่ะ

คุณหมอแอม : อย่างน้อยน้อยนะคะ แต่ว่าถ้าจะให้ดีก็คืออาหารจะอยู่ในกระเพาะเราถ้าคนที่เป็นเยอะจริงๆ อาหารในกระเพาะประมาณสามชั่วโมง เพราะฉะนั้นก็ต้องรอสองถึงสามชั่วโมงหลังอาหารแล้วค่อย แต่ครึ่งชั่วโมงหนึ่งชั่วโมงคืออย่างน้อยจริงจริงนะคะถ้าแบบกินนิดหนึ่งอะไรอย่างนี้แล้วก็จะง่วงแล้วไม่ไหวอะไรอย่างนี้ใช่ไหมค่ะ

คุณหมอแอม : แล้วก็ถ้าเกิดสมมุติท่านไหนที่ต้องแบบ ไปหาหมอแล้ว ไปกินยาแล้วยาจะมี อะไรกับลูกในท้องอะไรอย่างนี้ไหมค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : อันนี้หมายถึงกรดไหลย้อน

คุณหมอแอม : ใช่ค่ะ กรดไหลย้อน

อาจารย์ฟิล์ม : แล้วถ้าเกิดว่าคุณแม่เป็นมากๆจนรู้สึกว่ามันแสบขึ้นมาตลอดเวลาอะไรค่ะ แล้วก็ไม่สามารถทานอาหารได้ มีคลื่นไส้อาเจียนมากอะไรค่ะ ควรจะต้องไปพบคุณหมอและแล้วก็ ไม่ควร คุณแม่ไม่ควรจะซื้อยารับประทานเอง ควรจะปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ไปฝากครรภ์นะคะ สูติแพทย์เพื่อที่จะให้เขาพิจารณาว่ายาตัวไหนที่คุณแม่ทานได้และไม่มีผลต่อลูกในท้อง

คุณหมอแอม : ใช่ค่ะ เพราะว่าคุณแม่หลายคนชอบซื้อยากินเอง แต่ว่าพอเวลาไปหาเภสัชแล้วบางทีเป็นเภสัช เราพูดได้ไหม? พูดได้ไหมพี่จี้? บางทีบอกว่าเป็นคนที่แบบขายยาแทน ไม่ใช่เภสัชจริงๆ แล้วเขาบางคนก็ให้ยาผิด มันอันตรายกับลูก

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : หรือบางทีเขาก็แบบไม่กล้าจ่ายยาอะไรทั้งที่มันมียาที่มันปลอดภัยกับแม่ ก็ปล่อยให้แม่ทนไปค่ะ อะไรอย่างนี้หรือบางทีก็จ่ายยาสมุนไพร ซึ่งยาสมุนไพรมันไม่ได้ปลอดภัยทุกตัวใช่ไหมค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : เพราะฉะนั้นก็คือการพบผู้เชี่ยวชาญดีที่สุดนะคะ

#mombieclub #มัมบี้ #NS_mentalwellness #เรื่องเด็กๆbyหมอแอม #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยมหิดล #นอนหลับดี #สุขภาพดี #พักผ่อน #ท่านอน #คุณแม่ท้อง

https://www.youtube.com/watch?v=RSeQQGTEXvw
0

SnipTopics.PARENT_HEALTH_AND_WELL_BEING
SnipTopics.PREGNANCY
SnipTopics.POST_PARTUM
“ คำถามจากคุณแม่ ”
มีปัญหาอ่อนล้า เพลียในตอนกลางวัน ตื่นแล้วไม่สดชื่น ควรทำอย่างไรดีค่ะ

คุณหมอแอม : แต่คุณแม่ไม่ได้บอกเรื่องของอายุครรภ์มา ใช่ไหมคะ? แต่ว่าน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องของการนอนไม่หลับและ ความเครียดได้มั้ยค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : จริงจริงความเครียดก็มีส่วนนะคะ ความวิตกกังวล โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทํางานที่มีภาระหน้าที่อย่างคุณแม่ที่เป็นเมเนเจอร์ผู้จัดการ มีหน้าที่ระดับสูงยิ่งขึ้นไปอย่าง ก็จะมีความเครียดที่มากขึ้นด้วยใช่ไหมคะ?

อาจารย์ฟิล์ม : คําแนะนําในกรณีที่คุณแม่มีความวิตกกังวลหรือมีความเครียดแบบนี้นะคะ
ก็จะแนะนําให้คุณแม่ ลองเตรียมปากกา แล้วก็กระดาษไว้ที่ข้างเตียง

คุณหมอแอม : หือ? เอาไว้วาดรูปเหรอคะ?

อาจารย์ฟิล์ม : เอาไว้วาดรูปไหม? ผ่อนคลาย ไม่ใช่นะคะ สมมติว่าเรา คิดอะไรขึ้นมาในตอนที่ก่อนนอน เราอาจจะลองจดไว้ก่อน แทนที่เราจะเก็บเป็นเอาไปนอนคิดอยู่นั่นแหละค่ะ แล้วก็ทําให้เรานอนไม่หลับสักที ก็จะช่วยให้เราสามารถลิสต์รายการได้ว่าพรุ่งนี้ฉันจะจัดการเรื่องหนึ่ง เรื่องสอง เรื่องการที่เราจะแบบนอนคิดไปคิดมาทําให้หลับไม่ได้สักที นอกจากนั้นเนี่ยนะคะ

อาจารย์ฟิล์ม : ก็จะแนะนําในส่วนการ จัดสิ่งแวดล้อม ในห้องนอนให้มันเหมาะสม เริ่มจากอากาศแล้วกันค่ะ ห้องนอนควรจะเป็นห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดีนะคะ อาจจะเย็นหรือเปิดเปิดแอร์หรือเปิดพัดลมแล้วแต่คุณแม่สะดวก จะห่มผ้าหรือไม่ห่มผ้า ใส่ถุงเท้าไหม ก็แล้วแต่คุณแม่ว่าสะดวกในการนอนแบบไหน แล้วแบบสบายกับตัวเรานะคะ นอกจากเรื่องอากาศแล้ว

อาจารย์ฟิล์ม : เรื่องการจัดการของความวิตกกังวลแล้วนะคะ ก็เรื่องของแสงห้องนอน ควรจะเป็นห้องที่มืดสนิทนะคะ ถ้าสมมุติว่าคุณแม่ ไม่สามารถทําให้ห้องมันมืดสนิทได้ อาจจะมีแสงเล็ดลอดมาบ้าง ลองเลือกผ้าม่านที่ เป็นทึบแสงหน่อยนะคะ ค่ะ และนอกจากนั้น ถ้าเปลี่ยนผ้าม่านแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ลองใช้ผ้าปิดตาค่ะ

คุณหมอแอม : ปิดตาตัวเอง

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : เอาเหมือนที่เห็นในหนัง

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะหรือเวลาเหมือนที่เราขึ้นเครื่องบินะค่ะ คาดตาค่ะ ก็จะทําให้คุณแม่สามารถนอนหลับได้สนิทมากขึ้น

คุณหมอแอม : แต่เคยลองแล้วค่ะ มันอึดอัด นอนไม่หลับกว่าเดิม

อาจารย์ฟิล์ม : แล้วแต่คน ลองดู ก็เป็นทริค ลองเอาไปปรับใช้ ไม่จําเป็นต้องทําตามทุกข้อค่ะ

คุณหมอแอม : ถ้าเกิดว่าเรื่องของอ่อนเพลีย อะไรอย่างนี้ จากเรื่องเครียดก็ได้. ก็อาจจะทําคลิป. อันนี้อาจารย์หมอ ที่จําบอกว่าให้จดในกระดาษ

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : อยากรู้ว่าจดในมือถือไม่ได้เหรอคะ? ปกติเราจะชินกับการเปิดมือถือแล้วก็จดๆ อะไรทุกอย่างในนั้น

อาจารย์ฟิล์ม : ซึ่งจริงๆแล้วการใช้โทรศัพท์มือถือ มันจะเป็นแสงสีฟ้าที่ส่งมาจากมือถือนะคะ เราจะแนะนําให้หลีกเลี่ยงการใช้พวกแสงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างต่างหนึ่งชั่วโมง เพราะว่าแสงสีฟ้ามันจะส่งผล ส่งผลไปที่แบบร่างกายของเราทําให้เรารู้สึกว่าเราตื่นตัว

อาจารย์ฟิล์ม : แทนที่เราจะได้นอน พอหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาปุ๊บ อ้าว! กลายเป็นเราตื่นเฉย

คุณหมอแอม : ใช่ค่ะ แล้วมันก็จะส่งผลกับเรื่องของการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินในสมอง

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ

คุณหมอแอม : ทําให้เราหลับไม่สนิทด้วยใช่มั้ยคะ?

คุณหมอแอม : อีกอันหนึ่งค่ะ นอกจากแสงสีฟ้าค่ะ จะมีปัญหามากเลย จะจดอะไรสักอย่างหนึ่งในนั้น ไลน์เด้ง ตึ้ง เช็กไลน์

อาจารย์ฟิล์ม : ต้องตอบสักหน่อย

คุณหมอแอม : เหมือนเฟซบุ๊กไม่ได้เช็กนานแล้ว ดูเช็คดูเฟซบุ๊กซะหน่อย ได้แล้วลูกคนนั้นไปเรียนมาเหรอ เพิ่งรู้ว่าเพื่อนคนนี้แต่งงานแล้วเหรอ อะไรอย่าง รู้ตัวอีกทีตีหนึ่งค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : ไปเรื่อยเรื่อย เรื่อยเรื่อยแล้วก็จะ เคยเถิดไปซึ่งเป็นบ่อยมาก

คุณหมอแอม : กลับเข้าเรื่องของเรากันค่ะอาจารย์ สรุปว่าเรื่องของอันนี้ถ้าเป็นเรื่องเครียดก็จัดการแบบนั้น แล้วถ้าเกิดเป็นเรื่องของการนอนไม่หลับล่ะคะอาจารย์?

อาจารย์ฟิล์ม : นอนไม่หลับ อย่างเช่นว่า พยายามนอนแล้ว แต่นอนไม่หลับใช่ไหมคะ?

คุณหมอแอม : มันจะไหมคะ? มันจะมีว่าแบบ พอเวลากลางวันน่ะ ง่วงมากเลย รู้สึกไม่มีแรงทํางาน แต่ว่าพอกลางคืนบางคนที่จะนอน แต่กลับนอนไม่หลับค่ะ อันนี้มันเป็นจากภาวะทางจิตทางใจหรือว่าเป็นภาวะทางกายของแม่ท้องได้ค่ะ

อาจารย์ฟิล์ม : จะต้องบอกว่ามันเกิดได้ในคุณแม่ที่ท้องนะคะ โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ โดยเฉพาะ ฮอร์โมนที่ทําให้ กล้ามเนื้อต่างๆ คลายตัวไปใช่มั้ยคะ คุณแม่ก็อาจจะแบบมีเพลียในตอนกลางวันได้ แล้วก็พอในสัปดาห์ ในช่วงแรกแรก ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่ ก็จะมีการปรับตัวต่างๆค่ะ และต้องการพลังงานเพื่อไปให้ลูกน้อยก็ อาจจะมีการต้องการการนอนมากขึ้นหรือว่าง่วงนอนค่ะ เรามากขึ้นด้วยค่ะ

คุณหมอแอม : เหมือน energy ระหว่างวันมันหาย เพราะกล้ามเนื้อมันคลายตัวค่ะ แต่ว่าพอช่วงกลางคืน energy มัน alert มันต้องส่งไปถึงลูกใช่ไหม?

อาจารย์ฟิล์ม : ใช่ค่ะ ก็เลยแบบว่าเกิดเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วงแบบไตรมาสแรก จะทํายังไงเพื่อให้คุณแม่นอน ให้หลับในช่วงนั้นก็อาจจะลองเทคนิคต่าง ๆ ที่เราได้พูดกันไปแล้ว พวกการจัดสิ่งแวดล้อม อีกอย่างนึงที่เพิ่มขึ้นมาได้ก็คือ การดูเรื่องเสียงของบริเวณที่เรานอน ห้องนอนของเรานะคะ เขาอาจจะให้แบบเงียบหน่อย หรือถ้าสมัยนี้อาจจะอยู่

คุณหมอแอม : ห้องเงียบ แต่สามีไม่เงียบ สามีไม่เงียบ

อาจารย์ฟิล์ม : นี่ก็ต้องจัดการสามีก่อน

คุณหมอแอม : จัดการสามีแทน ไปนอนข้างล่าง

อาจารย์ฟิล์ม : หรือจัดการที่ตัวเราก็ได้ ซื้อที่อุดหูค่ะ มาใส่ในตอนที่นอนค่ะ

คุณหมอแอม : เคยค่ะแบบมีรูมเมท แล้วก็คือรูมเมท จะชอบฟังเพลง เล่นเปียโนตอนตีสองก็มี เราก็ต้องซื้อที่อุดหูแทน แล้วก็นั่นแหละค่ะ

คุณหมอแอม : จะเป็นTips&Tricks ที่คุณแม่เผื่อคุณแม่สมายสามารถเอาไปทําได้นะคะ

https://www.youtube.com/watch?v=guoF-fJth3Q

#mombieclub #มัมบี้ #NS_mentalwellness #เรื่องเด็กๆbyหมอแอม #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยมหิดล #นอนหลับดี #สุขภาพดี #พักผ่อน #ท่านอน #คุณแม่ท้อง
0
Topic to follow
See more
SnipTopics.ROUTINESSnipTopics.SOCIAL_AND_EMOITIONAL_DEVELOPMENTSnipTopics.HEALTHSnipTopics.PHYSICAL_HEALTHSnipTopics.POST_PARTUMSnipTopics.PREGNANCY
Street
Articles
Club
Noti
Me