Dr.Sura
Dr.Sura
@kengsura Doctor

Achievements

Expert
Description
สวัสดีครับผมทำงานเป็นสูตินรีแพทย์ ทำงานมานานกว่าสิบปี ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวหญิงตั้งครรภ์ และโรคทางสูตินรีเวชนะครับผม

My Services

My Shop
ให้คำปรึกษาเรื่องสูตินารีเวช
Reserve
TimelineInteractions

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันภาวะดาวน์ซินโดรม
การเจาะน้ำคร่ำเป็นการตรวจแบบตรงๆ คือการเอาน้ำคร่ำในท้องคุณแม่ไปสังเคราะห์ดูโครโมโซม ซึ่งเปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ 100 % ทำได้ตอนอายุครรภ์ประมาณ 18 สัปดาห์

ในกรณีที่ตรวจพบว่าเด็กในครรภ์มีภาวะดาวน์ซินโดรมจริงๆ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องทำก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์

ภาวะดาวน์ซินโดรม
เช่น คุณแม่ที่อายุเกิน 35 ปี ก็จะมีความเสี่ยงที่สำคัญคือ ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความเสี่ยงเรื่องเบาหวานตอนตั้งครรภ์

ซึ่งภาวะดาวน์ซินโดรมจะเกิดขึ้นตามสถิติ จะเกิดมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุมาก คือมันสามารถเกิดได้กับคุณแม่อายุน้อย แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แทบจะเป็น 1 ในล้านได้เลย แต่ถ้าเป็นคุณแม่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเป็น 1 ใน 100 หรือใน 200 ซึ่งทางสถิติถือว่ามีนัยยะสําคัญทางสถิติ เพราะฉะนั้นคนไข้ที่มีอายุมากและตั้งครรภ์
เราแนะนําให้ตรวจหาดาวน์ซินโดรม

สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก ยกตัวอย่างเช่นการตรวจภาวะดาวน์ซินโดรม ในช่วงไตรมาสแรกก็มีวิธีตรวจ คืออัลตราซาวด์ดูหลังคอเด็ก การตรวจผลเลือดดูสารเคมีในเลือดของคุณแม่ แต่เปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80%

ในปัจจุบันมีพัฒนาการมากขึ้น เชื่อว่ามีเลือดของเด็กลอยปนอยู่ในเลือดของคุณแม่ด้วย เลยมีการนำเลือดของคุณแม่ไปวิเคราะห์หาเลือดลูก แล้วดูโครโมโซม ซึ่งทําได้ตั้งแต่สิบสัปดาห์เป็นต้นไป แต่เปอร์เซนความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 99% ถ้าตรวจแล้วผลมีความเสี่ยงเป็นภาวะดาวน์ซินโดรม ก็จะเข้ากระบวนการตรวจสอบยืนยัน คือการเจาะน้ําคร่ำ

รกเกาะต่ำ
มีความหมายว่า รกมีตำแหน่งในการเกาะที่โพรงมดลูก ที่อยู่ต่ำกว่าตัวเด็ก จะมีผลทำให้เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องคลอด ตัวเด็กก็จะเคลื่อนที่ลงมาที่ช่องคลอดไม่ได้ เพราะมีรกเกาะขวางทางอยู่ ซึ่งทำให้จำเป็นต้องผ่าคลอด

ความสำคัญอีกอย่างของรกเกาะต่ำ คือ ถ้าเด็กเคลื่อนตัวลงมาชนตำแหน่งที่รกเกาะอยู่ บางครั้งก็จะเกิดรกลอกตัวหรือเกิดแผลฉีกขาดที่บริเวณรก ทำให้เลือดออกในมดลูก หรือออกมาทางช่องคลอดได้ ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และตัวเด็ก เพราะฉะนั้น คุณแม่คนไหนที่มีภาวะรกเกาะต่ำ ก็จะต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีเลือดออกช่องคลอดหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ คือ คุณแม่ที่เคยมีประวัติแท้ง เคยขูดมดลูก
ภาวะรกเกาะต่ำ มีอันตรายอีกอย่างคือตอนที่ทำการผ่าคลอด อาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากกว่าการผ่าคลอดปกติ เพราะตอนที่คุณหมอเอาเด็กออกแล้ว และต้องดึงรกออกมาด้วย ตำแหน่งที่รกเกาะจะทำให้เกิดรอยแผลขนาดใหญ่บริเวณที่รกเกาะ เพราะฉะนั้น บางคนอาจจะเสียเลือดมากระหว่างผ่าคลอด ทำให้ต้องตัดมดลูกเพื่อห้ามเลือด เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างของคนที่มีภาวะรกเกาะต่ำ

ระยะหลังคลอด เมื่อคุณแม่คลอดแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติ หรือ การผ่าคลอด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อกลับคืนสู่ภาวะปกติมดลูกที่ขยายตัวอยู่จะพยายามหดตัว เพื่อจะเข้าสู่กระบวนการปกติ เรียกอีกอย่างแบบภาษาทั่วไปว่า มดลูกเข้าอู่ ซึ่งส่วนใหญ่มดลูกจะเข้าอู่ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดจะมีอาการ
1. ตึงท้องเหมือนปวดท้องประจำเดือน มดลูกพยายามจะบีบตัว ก็จะมีการแข็งตัวเป็นพักๆ

2. หลังคลอดจะมีเลือดหรือน้ำคาวปลาออกมาจากมดลูก ซึ่งน้ำคาวปลาหรือเลือด จะออกมาได้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ มากน้อยแล้วแต่คน ในสมัยก่อนชาวบ้านมักนิยมทานยาเพื่อขับน้ำคาวปลา แต่ในทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้ทาน เพราะ ไม่ทราบว่ายาขับน้ำคาวปลามีส่วนผสมอะไรบ้าง บางคนทานก็มีภาวะตกเลือด หลังคลอด หรือบางคนก็ไม่มี เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณแม่ทานยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

ปกติแล้วคุณหมอที่ทำคลอด จะทำการนัดคุณแม่เพื่อมาตรวจหลังคลอด 2 ระยะ
・ระยะที่ 1. ประมาณ 7 วันหลังคลอด เพื่อดูแผล ไม่ว่าจะเป็นผ่าคลอดที่หน้าท้อง หรือเป็นแผลที่ฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติ

・ระยะที่ 2. หลังคลอดประมาณ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง จะมีการนัดมาตรวจภายใน เป็นการตรวจเพื่อประเมินเรื่องมดลูกรัดตัว เข้าอู่ดีหรือยัง อาการต่างๆ ปกติหรือยัง และจะมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกหลังคลอด

คุณแม่ที่ผ่านระยะการคลอด และพ้นระยะ 1 เดือนขึ้นไป จะเริ่มสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เพราะฉะนั้น คุณแม่ที่คลอดไปถึงระยะนี้แล้ว ก็ควรเริ่มกระบวนการคุมกำเนิด ถ้าไม่คุมกำเนิดก็อาจจะมีการท้องเกิดขึ้นอีก

เรื่องการส่งเสริมการให้นมลูก คือพยายามจะให้ดื่มนมจากแม่เพียงอย่างเดียว ไม่พยายามจะให้ดื่มนมผสม น้ำเปล่าก็ไม่ให้ดื่ม ซึ่งคุณแม่หลายคนสามารถทำได้ แต่ว่าในปัจจุบัน คุณแม่หลายท่านที่เป็นวัยทำงาน ก็ไม่สามารถทำได้ บางรายใช้วิธีปั๊มนมใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ หรือบางครั้งก็ต้องอาศัยนมผสมเป็นตัวช่วย สามารถทำได้เหมือนกัน ส่วนเด็กที่คลอดแล้ว ทางกุมารแพทย์หรือหมอเด็ก จะมีการนัดเพื่อฉีดวัคซีนตามเวลา ไม่ว่าจะเป็น 7 วัน 15 วัน 1 เดือน 3 เดือนหรือ 6 เดือน จะมีตารางการนัดต่างหาก

กรณีคุณแม่ที่ผ่าคลอดอยากมีลูกเพิ่ม ทางการแพทย์แนะนำให้คุณแม่หายดีก่อน อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป

ภาวะท้องแข็ง
ในความหมายของแพทย์ หมายถึง มดลูกแข็งตัว มดลูกแข็งตัวจะสามารถรู้สึกได้ที่บริเวณหน้าท้อง โดยจะรู้สึกตึงที่ท้องบริเวณมดลูก การบีบตัวของมดลูกไม่ควรเกิดขึ้นตอนที่อายุครรภ์ยังไ่ม่ครบกำหนด ถ้าเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด จะเรียกว่า การเจ็บท้องก่อนกำหนด แต่ถ้าแข็งแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ทั้งมดลูกนั่นคือ เด็กในครรภ์แค่มีการดันตัวไม่ใช่การเจ็บครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะมดลูกบีบตัวก่อนครบกำหนด หรือก่อน 37 สัปดาห์ อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 20-36 สัปดาห์ ก็จะถือเป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าเกิดขึ้นแล้ว กรณีที่ไม่สามารถยั้บยั้งได้ ก็จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด จะมีปัญหาในเรื่องของน้ำหนักตัวน้อย ความพร้อมในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ก็จะทำงานได้ไม่ดี จะมีปัญหาตามมาในการเจริญเติบโตในอนาคต หรือยิ่งอายุครรภ์น้อยแล้วคลอด ก็จะมีปัญหามากขึ้นไปเรื่อยๆ

การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด โดยส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก 2 อย่าง
1. เกิดจากการสะเทือน เช่น อาจจะนั่งรถบ่อย เดิน ออกกำลังกายมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุ รถชนหรือว่าตกบันได พอเกิดการสะเทือนขึ้นมา มดลูกจะถูกกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวขึ้น

2. เกิดจากการไม่สบาย ติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นไข้สูง ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์มากขึ้น อยู่ๆ มีอาการท้องแข็งบ่อย

สิ่งที่ควรทำ…หากเกิดอาการเหล่านี้
1. ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริง คุณหมอจะให้ยาเพื่อยับยั้งการที่มดลูกหดรัดตัว พยายามไม่ให้บีบตัว

2. แนะนำให้คุณแม่ ไม่เคลื่อนที่มาก ลดการสั่นสะเทือน เพื่อลดปัจจัยการสะเทือนลง อาจจะให้พักผ่อนอยู่บ้าน ลางาน และพยายามรักษาอายุครรภ์ให้มากที่สุด

3. ในบางรายที่มีการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่รุนแรง ก็อาจจะต้อง admit ที่โรงพยาบาลเพื่อให้ยาห้ามมดลูกหดรัดตัวทางน้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อ รวมถึงอาจจะต้องให้ยากระตุ้นปอดเด็กในครรภ์ เพราะว่า ถ้าเผอิญห้ามไม่ได้ แล้วเด็กจำเป็นต้องคลอด เด็กจะมีปัญหาเรื่องปอด เพราะฉะนั้นทางการแพทย์ จะมียาฉีด เพื่อกระตุ้น ให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น

กรณีที่คุณแม่เคยมีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในท้องครั้งก่อน ท้องต่อไปก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คนที่เคยมีประวัติเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด พอตั้งครรภ์ใหม่ ควรจะแจ้งให้หมอทราบ เพื่อให้คุณหมอได้วางแผนร่วมกับคุณแม่ เฝ้าระวังตัวเองมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น

การผ่าคลอด
ช่วงที่ปากมดลูกเปิดต้องใช้เวลาในการเปิด 1 ชั่วโมง 1 เซนติเมตร จนกว่าจะเปิดถึง 10 เซนติเมตร บางทีเด็กในท้องตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเชิงกรานของคุณแม่ ทำให้เด็กเคลื่อนตัวลงมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นกรณีแบบนี้ปากมดลูกจะเปิดเท่าเดิมหรือใน 1-2 ชั่วโมงไม่เปิดเพิ่มอีก ทางการแพทย์จะถือว่าคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอด

อีกกรณีหนึ่งคือ ระหว่างที่รอปากมดลูกเปิดอยู่ อาจเกิดเหตุการณ์ตัวเด็กกดทับไปที่สายสะดือ หรือสายสะดือพันคอเด็ก ทำให้หัวใจเด็กเต้นผิดปกติ ซึ่งถ้าเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อออกซิเจนในตัวเด็ก และสุขภาพของเด็ก กรณีแบบนี้ทางการแพทย์ก็จะถือว่าให้ทำการผ่าคลอด

หรืออีกกรณีหนึ่งที่เจอบ่อยๆ คือคุณแม่ไม่สามารถทนความเจ็บปวดในระหว่างรอคลอด

ข้อบ่งชี้ที่จะต้องผ่าคลอด คือ

1. ท้องแรกหรือท้องล่าสุดเคยผ่าคลอด ท้องต่อมาก็จำเป็นตองผ่าคลอด เหตุผลเพราะว่าคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาก่อนจะมีแผลเป็นอยู่ที่ข้างในมดลูก ที่เนื้อมดลูก เพราะฉะนั้นถ้าคลอดเอง แผลที่มดลูกอาจจะเกิดการแตกได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

2. เด็กไม่อยู่ในท่าที่ปกติ เช่น เอาก้นลง เอาขาลง เอาเท้าลงหรือนอนขวาง ก็ต้องทำการผ่าคลอด

3. ขนาดเด็กตัวใหญ่กว่าเชิงกรานของคุณแม่

4. กรณีที่มีภาวะรกเกาะต่ำ รกเกาะต่ำหมายถึง รกอยู่ต่ำกว่าตัวเด็ก ปิดทางเข้าออกของเด็ก

5. ระหว่างรอคลอดเกิดภาวะเด็กหายใจผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น ซึ่งกรณีนี้ค่อนข้างอันตราย ต้องรีบผ่าคลอดเร่งด่วน

6. ครรภ์แฝด

7. มีฤกษ์ในการคลอด ต้องผ่าคลอด ไม่สามารถจะคลอดเองได้
Street
Articles
Club
Noti
Me