วิธีสำรวจอารมณ์และการปรับตัวของคุณแม่

วิธีสํารวจอารมณ์และการปรับตัวของคุณแม่
สําหรับคนท้องที่อารมณ์แปรปรวนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่เพิ่งท้องเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจทำให้คนท้องบางคนเครียด กังวล จนกระทั่งเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือมีปัญหาทางจิตอย่างอื่นได้ อีกทั้งภาวะดังกล่าวอาจส่งผลถึงเด็ก ภายในท้องโดยที่คุณแม่ไม่รู้ตัวอีกด้วย
ปัญหาสุขภาพจิตที่อาจทําให้คนท้องเกิดอารมณ์แปรปรวน
อารมณ์ไม่คงที่ของคุณแม่ถือว่าเป็นเรื่องปกติในขณะตั้งท้อง หากรู้สึกถึงความวิตก กังวลหรือรู้สึกแย่บ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติที่ควรได้รับการ รักษา เพราะความเครียดและกังวลอาจส่งผลต่อเด็กในท้องได้
ตัวอย่างของปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อลูกในท้อง
• ภาวะซึมเศร้า คนท้องอาจเผชิญกับภาวะซึมเศร้าที่ทําให้มีอาการหลายรูปแบบ เช่น รู้สึกเศร้าหรือฉุนเฉียวง่ายนานหลายสัปดาห์หรืออาจยาวนานเป็นเดือน ไม่รู้สึก สนุกสนานกับสิ่งที่ชอบเหมือนเคย ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง นอนไม่หลับหรือนอนมาก เกินไป รู้สึกผิด ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง หมดหวัง ขาดสมาธิหรืออาจคิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซึ่งโรคซึมเศร้าที่เกิดกับคนท้องอาจเป็นผลมาจากปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง เช่น คุณแม่ไม่ได้รู้สึกยินดีกับการตั้งท้องของตัวเอง หรือมีความเครียดอย่างมาก จากการทํางาน เป็นต้น
• ภาวะวิตกกังวล คุณแม่บางคนอาจรู้สึกกังวลหรือกลัวว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่ง อาจมาจากหลายปัจจัย อย่างความคาดหวังเกี่ยวกับการเป็นแม่ที่ดี หรือความ กังวลว่าตนอาจไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ โดยภาวะนี้อาจทําให้คุณแม่วิตกกังวล มากกว่าปกติ ควบคุมความกังวลไม่ได้ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยตาม กล้ามเนื้อ หรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
• อาการแพนิค ถือเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในคนท้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ความเครียดและความวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจมีอาการแพนิคที่เกิดขึ้น เช่น ตัวสั่น หายใจลําบาก เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่เคยเกิด อาการแพนิคมาก่อนจะเสี่ยงเกิดแพนิคได้มากขึ้นในขณะที่กําลังท้องอีกด้วย
• อาการย้าคิดย้ำทํา เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากความวิตกกังวล บางคนอาจเพิ่งเคย เป็นครั้งแรกตอนตั้งท้อง แต่บางคนก็อาจเคยมีอาการนี้มาก่อนแล้ว โดยผู้ป่วยจะ มีความคิดหรือการกระทําที่วนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ เช่น ล้างมือบ่อย ตรวจดูว่าลืม ล็อคประตูหรือไม่ ถามคําถามเดิมหลายครั้ง เป็นต้น ซึ่งความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ในฐานะคุณแม่อาจทําให้บางคนเกิดความกังวลมากเกินไป จนมีอาการย้าคิดย้าทํา ตามมา
• โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่ทําให้มีอารมณ์ไม่คงที่สลับกัน ระหว่างอารมณ์ดีกว่าปกติ และอารมณ์ซึมเศร้าอย่างหนัก จนอาจเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น พูดเร็ว ไม่ ง่วงนอน รู้สึกว่าตนเองสําคัญเป็นพิเศษ สลับกับรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ไม่อยาก อาหาร เป็นต้น ซึ่งหากผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ตั้งท้อง ก็อาจมีอาการของโรคนี้ที่ นี้ ที่ เด่น ชัดขึ้นได้
วิธีการปรับตัวเมื่อคนท้องเกิดปัญหาอารมณ์แปรปรวน
เมื่อตั้งท้อง คุณแม่ควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะไม่เพียงแต่ต้อง ดูแลสุขภาพตนเอง แต่ยังมีอีกชีวิตหนึ่งที่อยู่ในท้องด้วย ซึ่งคําแนะนําต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาจเป็นแนวทางให้คุณแม่นําไปปรับใช้ดูแลตนเองและรับมือกับความผิดปกติทาง อารมณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ได้
• มองโลกในแง่บวก มองหาสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• พักผ่อนให้เพียงพอ
• ทํากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น เช่น พูดคุยกับคนในครอบครัวหรือ เพื่อนที่ไว้ใจ ฝึกทําสมาธิออกกําลังกาย เล่น โยคะ ทํากิจกรรมเพื่อ สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น
• พูดคุยถึงปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้าน การตั้งท้อง
• เข้าร่วมกลุ่มกับคุณแม่ที่ตั้งท้องเช่นกัน เพื่อให้สามารถระบายความกังวลต่างๆ และเข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ดี
• หากมีอาการอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง หรือเป็นอยู่นานแล้วอาการต่างๆ ไม่หายไป ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคําแนะนําเกี่ยวกับการบําบัดหรือการรักษาที่ เหมาะสมกับตนเอง โดยให้ความร่วมมือในการรักษาและใช้ยาตามคําแนะนําของ แพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ
ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามการเกิดอารมณ์แปรปรวนขึ้นในขณะอุ้มท้อง เราควรเรียนรู้ วิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและไปพบแพทย์เมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือคําแนะนํา นะคะ