Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

แจกฟรี! ตารางความถี่ให้นมลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน

แจกฟรี! ตารางความถี่ให้นมลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน

 

          สำหรับแม่ ๆ มือใหม่ การให้นมลูกถือเป็นเรื่องสำศัญอีกอย่างที่คุณแม่ทุกคนต้องรู้ นอกจากเทคนิคการปั๊มนมแล้ว การให้นมลูกในแต่ละวัยก็สำศัญ เพราะถ้าแม่ให้น้อยไป ลูกก็อาจจะรับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือ ถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้ลูกอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หากเกินมาก ๆ อาจจะทำให้ลูกน้อยของเราไม่สบายได้ค่ะ

 

ตารางให้นมลูก ช่วงแรกเกิด - 12 เดือน 

เด็กอายุ ตั้งแต่แรกเกิด - 1 เดือน 

          สูตร : (น้ำหนัก X 155 ซีซี) / 30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน

*หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี

    • เช่น น้ำหนักลูก 3 กก. : (3 X 150 ) / 30 = 15 ออนซ์ต่อวัน

          ตารางการให้นม : ควรแบ่งออกเป็น 6 มื้อ

    • เช่น คำนวนออกมาแล้วได้ 15 ออนซ์ต่อวัน : 15/6 = 2.6 ออนซ์ หรือ 75 ซีซี ต่อมื้อ

           วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม

    • ควรปล่อยให้ลูดเข้าเต้า ดูดนมได้นาน ตามที่เขาต้องการ เมื่อเกลิ้ยงเต้าแล้วจึงเปลี่ยนข้างได้

    • ในสัปดาห์แรก ลูกอาจจะฉี่หรืออึ ประมาณ 10-12 ครั้ง

    • ในสัปดาห์ที่ 2-6 ควรให้ลูกกินนมจากเต้า ประมาณ 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับน้ำนมของคุณแม่และการดูดของลูก

          ทริคตารางเวลาการให้นม

    • ป้อน 6 ครั้ง เวลา 6.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.

    • ป้อน 7 ครั้ง เวลา 6.00 / 7.00 / 12.00 / 15.00 / 18.00 / 21.00 / 24.00 น.

 

เด็กอายุ 1 - 4 เดือน

          สูตรคำนวน : (น้ำหนัก X 120 ซีซี) / 30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี

    • เช่น น้ำหนักลูก 4 กก. : (4 X 120) / 30 = 16 ออนซ์ หรือ 480 ซีซีต่อวัน สามารถให้ลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์ หรือ 720 ซีซี ต่อวันไม่ควรกินเกินกว่านี

          วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม

    • ก่อนกินพุงเฟบ หลังกินพุงป่อง

    • อึ 2 - 3 ครั้ง / วัน

    • ฉี่ 6 - 9 ครั้ง / วัน

    • หากสังเกตเห็นว่าก่อนกินพุงลูกป่องอยู่แล้วหลังกินพุงก็จะป่องมากยิ่งขึ้น มีการอึฉี่มากขึ้นแสดงว่าให้ลูกกินมากเกินไป

          ทริคตารางเวลาการให้นม

    • ป้อน 6 ครั้ง เวลา 6.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.

 

เด็กอายุ 5 - 6 เดือน

          วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม

    • โดยเฉลี่ยแล้วสามารถใหลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์ หรือ 720 ซีซีต่อวัน บวกลบ 4 ออนซ์หรือ 120 ซีซี

    • เด็กในวัยนี้จะห่วงกิน ทำให้กินได้น้อยลง

    • ทริคตารางเวลาการให้นม

 

เด็กอายุ 6 - 12 เดือน

          สูตรคำนวน : (น้ำหนัก X 110 ซีซี) / 30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี

    • เช่น น้ำหนักลูก 6.5 กก. : (6.5 X 110) / 30 = 24 ออนซ์ หรือ 720 ซีซีต่อวัน

          วิธีให้อาหารเสริมลูกอย่างเหมาะสม

    • สำหรับเด็ก 6 เดือน ข้าว 1 มื้อ มื้อละ 5 - 8 ช้อนโต๊ะ

    • สำหรับเด็ก 3 เดือน ข้าว 2 มื้อ

    • สำหรับเด็ก 12 เดือน ข้าว 3 มื้อ

          ทริคตารางเวลาการให้นม

    • ป้อน 4 ครั้ง เวลา 7.00 - 8.00 / 11.30 - 12.00 / 15.30 - 16.00 / 20.00 น.

 

          แล้ววันนี้ Mombiestreet มีวิธีสังเกตว่าลูกอิ่มแล้วหรือยังมาฝากนะคะ โดยดูได้จากเวลาที่ลูกอิ่มแล้วเขาจะดูดช้าลง หรือความแรงลดลง บางครั้งก็อาจจะหลับคาเต้านมของคุณแม่ไปเลย แต่ถึงอย่างไรคุณแม่ก็ต้องหมั่นสังเกตุลูกน้อยอยู่เสมอ เด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป การให้นมลูกอย่างเหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ตามช่วงวัยที่เหมาะสมถ้าคุณแม่ท่านใดมีวิธีการให้นมลูก นำมาแบ่งปันกันบ้างนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกดูดนมแบบไหน คือการเข้าเต้าที่ถูกต้อง?
ลูกดูดนมแบบไหน คือการเข้าเต้าที่ถูกต้อง?
09 สิงหาคม 2023 10:19
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าการดูดนมแม่ไม่เกี่ยวกับหัวนมแม่ แต่ว่าการดูดนมแม่ที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการดืมนมแม่ จึงต้องมีวิธีดูดนมที่ถูกต้อง
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ

เตรียมความพร้อม สำหรับมื้อแรกของลูกรัก
เตรียมความพร้อม สำหรับมื้อแรกของลูกรัก
14 มิถุนายน 2022 04:16
วันนี้จะมาแนะนำอุปกรณ์สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะทานมื้อแรก นอกจาก นมแม่ กันค่ะ
น้ำหนักลูก: เด็กหนักน้อยไปหรือเปล่า
น้ำหนักลูก: เด็กหนักน้อยไปหรือเปล่า
15 มิถุนายน 2022 04:24
เมื่อลูกมีน้ำหนักน้อย คุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำหนักตัวของลูกน้อย คงจะกังวลกันไม่น้อย แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เรามีคำแนะนำสำหรับเรื่องนี้มา