ทารกกระหม่อมบุ๋มอันตรายไหม?
กระหม่อมคือรอยต่อของกระดูกบริเวณศีรษะทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงเห็นเป็นรอยบุ๋ม มีการเต้นตุบๆ ตามการเต้นของหัวใจอีกต่างหาก สำหรับทารกตรงนี้เป็นจุดที่บอบบาง
กระหม่อมหน้า จะปิดเมื่อลูกมีอายุประมาณ 12-18 เดือน ส่วนกระหม่อมหลังจะปิด เมื่อลูกมีอายุประมาณ 6 สัปดาห์หรือ 2 เดือน
เมื่อทารกคลอดออกมา ศีรษะของลูกจะมีลักษณะดังนี้ที่จะค่อยๆ เติมเต็มเมื่อโตขึ้น
ศีรษะทารกแรกเกิดมักดูใหญ่ และมีลักษณะค่อนข้างยาวในวันแรกๆ เนื่องจากถูกช่องคลอดของคุณแม่บีบ และมักมีผมปกคลุม
ตรงกลางศีรษะด้านหน้า มีแอ่งนุ่มๆ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “กระหม่อมหน้า” และด้านหลังมีแอ่งที่เล็กกว่ารูปสามเหลี่ยม เรียกว่า “กระหม่อมหลัง” เกิดจากกระโหลกศีรษะที่ยังงอกมาปิดไม่สนิทดี
กระหม่อมหน้า จะปิดเมื่อลูกมีอายุประมาณ 12-18 เดือน ส่วนกระหม่อมหลังจะปิด เมื่อลูกมีอายุประมาณ 6 สัปดาห์หรือ 2 เดือน
วิธีดูแลกระหม่อมของทารก
ในช่วงที่กระหม่อมทารกยังไม่ปิด มีเพียงเนื้อเยื่อที่ปกป้องเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังการถูกกระแทก เพราะข้างในมีสมอง และไม่มีกะโหลกหุ้ม หากสัมผัส ต้องทำอย่างเบามือ
ระวังเรื่องอุณหภูมิ อย่าให้หนาว หรือร้อนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกป่วยได้ง่าย
การให้ลูกนอนหงายตลอดเวลา อาจทำให้ลูกหัวแบน แก้ไขโดยให้คุณพ่อคุณแม่จัดท่านอนลูกให้แตะคงซ้าย ขวา สลับกัน รวมทั้งให้นมสลับซ้ายขวา หัวแบนๆ ของลูกจะดีขึ้นได้
คอยสำรวจว่ากระหม่อมลูกยุบลุง หรือนูนขึ้นไหม หากกระหม่อมลูกบุ๋มลง ลูกซึมลง ท้องเสีย อาเจียน และมีอาการตาโหลลึก อาจเป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าลูกขาดน้ำรุนแรง หากกระหม่อมลูกนูนขึ้น ไม่เต้นไปตามจังหวะชีพจร มีไข้ อาจแปลว่าลูกมีปัญหาด้านประสาทและสมอง ต้องพาไปพบคุณหมอทันที